วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

คนจีนที่อพยพเข้ามาอยู่ในแฟ่นดินไทย

ชาวจีนเริ่มอพยพเข้ามาพำนักอาศัยในแผ่นดินที่ เป็นประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังปรากฏว่าได้มีการส่งคณะทูตจากจีนมายังราชสำนักแห่งอาณาจักรสุโขทัย และมีการส่งคณะทูตไทยไปยังปักกิ่งเช่นกัน ชาวจีนที่อพยพเข้ามาในระยะแรกส่วนใหญ่มาจากทางตอนใต้ของจีน เราอาจจำแนกชาวจีนอพยพจากกลุ่มภาษาและภูมิลำเนาได้ดังนี้

- กลุ่มจีนแต้จิ๋ว มาจากตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลกวางตุ้ง
- กลุ่มจีนฮกเกี้ยน มาจากตอนใต้ของมณฑลฝูเจี้ยน
- กลุ่มจีนไหหลำ มาจากตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไหหลำ
- กลุ่มจีนกวางตุ้ง มาจากตอนกลางของมณฑลกวางตุ้ง
- กลุ่มจีนแคะ มาจากตอนเหนือของมณฑลกวางตุ้ง

จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ไทยกล่าวว่า ชาวจีนที่เดินทางมาไทยในสมัยอยุธยาส่วนใหญ่เป็นจีนฮกเกี้ยน มักมีอาชีพรับราชการ แต่หลังสมัยอยุธยาจะมีชาวจีนแต้จิ๋วอพยพเข้ามาเป็นจำนวนมาก จีนฮกเกี้ยนมีเป็นจำนวนมากแถบภาคใต้ของไทยในจังหวัดภูเก็ต ปัตตานี สงขลา และระนอง

สำหรับ จีนแต้จิ๋วอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา และชลบุรีเป็นส่วนใหญ่ ชาวจีนแต้จิ๋วอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยเป็นจำนวนมากในระยะหลังปี พ.ศ. ๒๓๑๐ เนื่องจากได้รับการสนับสนุน และได้รับสิทธิพิเศษบางประการ เพราะพระเจ้าตากสินทรงมีพระบิดาเป็นชาวแต้จิ๋ว และชาวแต้จิ๋วได้มีบทบาทในการสู้รบเพื่อกอบกู้เอกราช

พวกแต้จิ๋วส่วนใหญ่จะอพยพมาทางเรือ และตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย ได้แก่เมืองต่าง ๆ ในอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ได้แก่ ตราด จันทบุรี บางปลาสร้อย (ชลบุรี) แปดริ้ว (ฉะเชิงเทรา) และในกรุงเทพฯ ต่อมาภายหลังในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ พวกแต้จิ๋วจึงขยับขยายออกไปตั้งถิ่นฐานใหม่นอกเขตดังกล่าว ได้แก่ อุตรดิตถ์ ปากน้ำโพ(นครสวรรค์) ตลอดจนพิจิตร พิษณุโลก สวรรคโลก เด่นชัยเมื่อมีการสร้างทางรถไฟไปถึงแก่งคอยและขึ้นไปทางเหนือในปี พ.ศ. ๒๔๕๑

เป็นการยากที่จะระบุจำนวนชาวจีนกลุ่มต่าง ๆ ในประเทศไทย แต่ยืนยันได้ว่าในบรรดาชาวจีนกลุ่มต่าง ๆ นั้น มีชาวจีนแต้จิ๋วมากที่สุด

ชื่อแต้จิ๋วนอกจากจะเป็นชื่อของกลุ่มชาวจีนที่พูดภาษาถิ่นเดียวกัน คือภาษาแต้จิ๋วแล้ว ยังเป็นชื่อเมืองเก่าแก่อันเป็นต้นกำเนิดของชาวแต้จิ๋วทั้งหลาย ได้แก่ เมืองแต้จิ๋ว (Teochiu) หรือเมืองเฉาโจว (Chaozhou) ตามที่ออกเสียงในภาษากลาง เมืองแต้จิ๋วเป็นเขตการปกครองที่เป็นศูนย์กลางของภาคตะวันออกของมณฑล กวางตุ้งมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๕ ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ๔๑๓ ในราชวงศ์จิ้นตะวันออก เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การปกครอง และวัฒนธรรมของภูมิภาคตลอดมา จนมีคำกล่าวกันว่า "หากมากวางตุ้งแล้วมิได้เห็นเมืองแต้จิ๋วก็เสียเที่ยวเปล่า"

เมืองแต้จิ๋วเป็นที่รู้จักกันดีในด้านทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ส้มแต้จิ๋ว ชาแต้จิ๋ว น้ำตาลแต้จิ๋ว ในด้านวัฒนธรรม เช่น อาหารแต้จิ๋ว งิ้วแต้จิ๋ว ผ้าปักลูกไม้แต้จิ๋ว ฯลฯ

ชื่อแต้จิ๋วเป็นชื่อโบราณ คำว่าเตีย (แต้) เป็นคำโบราณแปลว่า ทะเล คำว่า โจว (จิ๋ว) แปลว่า เมือง แต้จิ๋วจึงแปลว่าเมืองชายทะเล คล้าย ๆ ชื่อจังหวัดชลบุรีของไทยเรา ชาวจีนแต้จิ๋วรุนเก่า ๆ ที่อพยพมาเมืองไทยบางคนยังบอกว่าตนมาจากเมืองแต้จิ๋ว แต่คนรุ่นหลังจะเรียกชื่อใหม่คือชื่อเตี่ยอัน ซึ่งเป็นชื่อที่ออกสำเนียงแต้จิ๋วของอำเภอเฉาอัน (Chaoan) ปัจจุบันอำเภอเฉาอันคือที่ตั้งของเมืองแต้จิ๋วโบราณ เมืองแต้จิ๋วในระยะหลังเมื่อผ่านยุครุ่งเรืองแล้ว ได้กลายเป็นอำเภอเฉาอัน สังกัดเทศบาลนครซ่านโถว (ซัวเถา) จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๓๒ จึงได้รับการตั้งเป็นเทศบาลเมืองสังกัดมณฑลกวางตุ้ง รัฐบาลจีนได้ประกาศให้เมืองแต้จิ๋วเป็นเมืองประวัติศาสตร์ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙

อย่างไรก็ตาม เขตวัฒนธรรมแต้จิ๋วมิได้มีขอบข่ายอยู่เฉพาะเมืองแต้จิ๋ว เมื่อครั้งที่แต้จิ๋วยังเป็นมณฑล มีอำเภออยู่ในสังกัดอำเภอเหล่านั้นก็ล้วนเป็นเขตวัฒนธรรมแต้จิ๋ว และเป็นบริเวณที่คนไทยเคยได้ยินชื่อคุ้นหูทั้งสิ้น เช่น เท่งไห้ ซัวเถา โผ่วเล้ง ฯลฯ อำเภอเฉิงห่าย หรือเท่งไห้ เป็นอำเภอสำคัญ เพราะได้มีท่าเรือใหญ่เกิดขึ้นที่นี่ในต้นราชวงศ์หมิง (คริสต์ศตวรรษที่ ๑๕) ชื่อว่าจางหลิน หรือ จึงลิ้ม ชาวแต้จิ๋วที่อพยพมาเมืองไทยในช่วงแรก ๆ ล้วนลงเรือที่ท่าจางหลินทั้งสิน ในสมัยต่อมาเมื่อมีการเปิดท่าเรือซัวเถาที่เมืองซัวเถาหรือซานโถว (Shantou) ชาวแต้จิ๋วจึงออกเดินทางจากท่าเรือซัวเถา เมืองซัวเถากลายเป็นศูนย์กลางของเขตวัฒนธรรมแต้จิ๋วและยังเป็นมาจนทุกวันนี้

ข้อมูลทั้งหมดนี้ ได้มาจากข้อเขียนของ สุภางค์ จันทวานิชรายงานการวิจัยเรื่อง ชาวจีนแต้จิ๋วในประเทศไทยและในภูมิลำเนาเดิมที่เฉาซัน : สมัยที่หนึ่ง ท่าเรือจางหลิน (๒๓๑๐-๒๓๙๓)

ลำดับเครือญาติ ภาษาจีนแต้จิ๋ว

คนจีน จะให้ความสำคัญแต่เพศชายเท่านั้น ไม่เห็นว่าเพศหญิงสำคัญ
การลำดับญาติ ก็เลยเป็นไปตามค่านิยมแบบนั้น

พี่ ชายหรือน้องชายของแม่ เรียกว่า อากู๋ ทั้งนั้น
พี่สาวหรือน้องสาวของพ่อ เรียกว่า อาโกว ทั้งสิ้น

เราเป็นสะใภ้ในบ้านใด จะต้องเรียกญาติฝั่งสามีในลำดับศักดิ์ที่ถูกกดลง
หนึ่งชั้นเสมอ คือ เรียกด้วยศักดิ์ของลูกเรา (บางคนบอกว่าเรียกแทนลูก)
ไม่ว่าอายุเราจะ เท่าใด เช่น เรียกน้องสาว / พี่สาว ของสามี เป็น "อาโกว"
เหมือนที่ลูก ของเราเรียกคนผู้นั้น

ในกรณีคู่สะใภ้ หมายถึงเป็นสะใภ้ของบ้านเดียวกัน อาจจะเป็นเมียของพี่
แฟนเรา หรือเมียของน้องแฟนเรา เราต้องเรียกคู่สะใภ้เหมือนที่ลูกเราเรียก
โดยไม่ ต้องดูอายุ เช่น

เรียกเมียของพี่แฟนเรา.......ว่าอาอึ้ม
........... (ภาษาเขียนจะเรียกว่า แปะบ้อ หรือ เมียอาแปะ)
เรียกเมียของน้องแฟน เรา....ว่าอาซิ่ม
...........(ภาษาเขียนจะเรียกว่า เจ็กบ้อ หรือ เมียอาเจ็ก)

เอาจีนแต้จิ๋วแค่นี้ก่อนมั้งลูก อย่าเพิ่งถึงเป็นภาษาจีนอื่นเลย....


พ่อ ของปู่ทวด, พ่อ ของย่าทวด, พ่อ ของตาทวด, พ่อ ของยายทวด
.......เรียกว่า เหล่าโจ๋วกง

แม่ ของปู่ทวด, แม่ ของย่าทวด, แม่ ของตาทวด, แม่ ของยายทวด
.......เรียกว่า เหล่าโจ๋วม่า

ชั้นทวด (พ่อ + แม่ ของปู่ ย่า ตา ยาย)
ปู่ทวด หรือ ตาทวด.......เรียกว่า เหล่ากง
ย่าทวด หรือ ยายทวด....เรียกว่า เหล่าม่า

ชั้นปู่ย่าตายาย (พ่อ + แม่ ของพ่อ แม่)
ปู่..............................เรียกว่า ไหล่กง (อากง ที่อยู่ในบ้าน)
ย่า.............................เรียกว่า ไหล่ม่า (อาม่า ที่อยู่ในบ้าน)
ตา.............................เรียกว่า หวั่วกง หรือ หงั่วกง (อากง ที่อยู่บ้านโน้น...บ้านเกิดของแม่)
ยาย........................... เรียกว่า หวั่วม่า หรือ หงั่วม่า (อาม่า ที่อยู่บ้านโน้น...บ้านเกิดของแม่)

พี่ ชายของปู่.................เรียกว่า เหล่าแปะ.....ภรรยาของเหล่าแปะ เราจะเรียกว่า เหล่าอึ้ม
น้องชายของปู่.............เรียกว่า เหล่าเจ็ก......ภรรยาของเหล่าเจ็ก เราจะเรียกว่า เหล่าซิ่ม
พี่สาว-น้อง สาวของปู่....เรียกว่า เหล่าโกว.......สามีของเหล่าโกว เราจะเรียกว่า เหล่าโกวเตี๋ย

พี่ชายของตา................เรียกว่า เหล่าแปะ.....ภรรยาของเหล่าแปะ เราจะเรียกว่า เหล่าอึ้ม
น้องชายของ ตา.............เรียกว่า เหล่าเจ็ก......ภรรยาของเหล่าเจ็ก เราจะเรียกว่า เหล่าซิ่ม
พี่สาว-น้องสาวของตา...เรียกว่า เหล่าโกว.......สามีของเหล่าโกว เราจะเรียกว่า เหล่าโกวเตี๋ย

พี่ ชาย-น้องชายของย่า...เรียกว่า เหล่ากู๋.........ภรรยาของเหล่ากู๋ เราจะเรียกว่า เหล่ากิ๋ม
พี่สาว-น้องสาวของย่า....เรียกว่า เหล่าอี๊.........สามีของเหล่าอี๊ เราจะเรียกว่า เหล่าอี่เตี๋ย

พี่ ชาย-น้องชายของยาย..เรียกว่า เหล่ากู๋.........ภรรยาของเหล่ากู๋ เราจะเรียกว่า เหล่ากิ๋ม
พี่สาว-น้องสาวของยาย...เรียกว่า เหล่าอี๊.........สามีของเหล่าอี๊ เราจะเรียกว่า เหล่าอี่เตี๋ย

ชั้น พ่อแม่ลุงป้าน้าอา
พ่อ..............................เรียกว่า ป่าป๊า หรือ เตี่ย
แม่..............................เรียกว่า ม่าม๊า หรือ อี๊

พี่ ชายของพ่อ.................เรียกว่า อาแปะ....ภรรยาของอาแปะ เราจะเรียกว่า อาอึ้ม
น้องชายของพ่อ..............เรียกว่า อาเจ็ก.....ภรรยาของอาเจ็ก เราจะเรียกว่า อาซิ่ม
พี่สาว-น้องสาวของพ่อ.....เรียกว่า อาโกว......สามีของอาโกว เราจะเรียกว่า โกวเตี๋ย
พี่ชาย-น้องชายของ แม่.....เรียกว่า อากู๋.......ภรรยาของอากู๋ เราจะเรียกว่า อากิ๋ม
พี่ สาว-น้องสาวของแม่.....เรียกว่า อาอี๊.........สามีของอาอี๊ เราจะเรียกว่า อี่เตี๋ย

ชั้นตัวเรา
พี่ชาย................เรียกว่า อาเฮีย....ภรรยาของอาเฮีย เรียกอาซ้อ
น้องชาย............เรียกว่า อาตี๋........ภรรยาของอาตี๋ เรียกชื่อเฉยๆ
พี่สาว................เรียก ว่า อาเจ๊.......สามีของอาเจ๊ เรียกแจฮู หรือเรียกอาเฮีย
น้อง สาว.............เรียกว่า อาม่วย....สามีของอาม่วย เรียกชื่อเฉยๆ


ภาษาจีนแต้จิ๋ว (ภาษาจีนที่ใช้กันในครอบครัว)


มาระลึกถึงบรรพบุรุษ และญาติที่เมืองจีนกันหน่อย ชาวแต้จิ๋วรุ่นคุณปู่ผม อพยพหนีภัยสงคราม และมาทำมาหากิน จากเมืองแต้จิ๋ว ในซัวเถา ด้วยตะกร้าอัน และสองมือ ทางเรือเมล์ จากที่นี่ ที่อยู่ทางตะวันตกของฮ่องกง 1 วัน ทางเรือสำราญ ปากแม่นํ้าใหญ่

ปู่ทางพ่อ ก๋งอยู่โผวเล้ง ปู่ทางแม่ ก๋งอยู่เก๊กเอี๊ยว ไปเดินหาจะเจอหมู่บ้านแซ่เดียวกัน

แม่ไปมา บอกว่า เจริญมาก ไฟสว่างไสวทั้งคืน และญาติกวนทั้งคืน อ่าๆๆๆ

มาค้นประวัติกันดีกว่า

แต้จิ๋ว Chao-Zhou หรือ Taechew หรือ Teow Chiew
กลุ่มจีนแต้จิ๋ว ภาษาจีนกลาง เรียก พวกเฉาโจว Chao-Zhou หรือ Chaozhou hua (เฉาโจวฮั่ว) (Taechew is Chaozhou hua)


จังหวัดที่พวกแต้จิ๋วรวมกันอยู่ คือ: ซัวเท้า (Swatow) หรือออกเสียง ซัวเถา (Shantou) หรือภาษาจีนกลาง:เมืองซ่านโถว Shantou หรือ เมืองซั่นโถว หรือซัวเถา ในมณฑลกว่างตง(กวางตุ้ง Guangdong ) ประเทศจีน

ภาพแสดงเมืองซานโถวในปัจจุบัน

จังหวัดที่พวกแต้จิ๋วรวมกันอยู่ คือ: ซัวเท้า (Swatow) หรือออกเสียง ซัวเถา (Shantou) หรือภาษาจีนกลาง:เมืองซ่านโถว Shantou หรือ เมืองซั่นโถว หรือซัวเถา ในมณฑลกว่างตง(กวางตุ้ง Guangdong ) ประเทศจีน
เป็นหนึ่งในหกเขตเศรษฐกิจพิเศษของจีน

อดีตเป็นเมืองริมฝั่งทะเลที่มีคลื่นลมมากตามชื่อเมืองที่หมายถึง เมืองคลื่นลมแรง สมัยโบราณค่อนข้างจะยากไร้กันดาร และมีจระเข้ชุกชุม


ปี ค.ศ.1860 อังกฤษได้ยึดเมืองซัวเถาเป็นเมืองท่าพาณิชย์

ปี ค.ศ.1986 ได้มีการประกาศให้เมืองเฉาโจวเป็นเมืองวัฒนธรรมประวัติศาสตร์แห่งชาติ


ซัวเถาเป็นหนึ่งในถิ่นฐานของจีนแต้จิ๋ว ที่พูดภาษาแต้จิ๋ว ซึ่งเป็นภาษาที่แยกย่อยมาจากภาษาหมินใต้(ฮกเกี้ยนใต้)

จีนแต้จิ๋วซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่เมืองไทยมีบรรพบุรุษหรือญาติพี่น้องในซัวเถา

ชุมชนจีนแต้จิ๋วมีอยู่แค่ 4-9 อำเภอ(เช่น เตี่ยเอี้ย เตี่ยอัน โพ้วเล้ง เก๊กเอี๊ยว)ในซัวเถา
ภาษาแต้จิ๋ว ถึงแม้จะเป็นภาษาท้องถิ่นที่มีประชากรราวสิบล้านคน

ภาษาแต้จิ๋ว ใช้กันที่ ฮ่องกง มาเลเซีย อินโด เขมร ไทย เวียดนาม สิงคโปร์
Teochew originated in the Chaoshan region of Guangdong province, China.
Teochew is also spoken in Hong Kong, Singapore, Malaysia, Indonesia, Vietnam, Cambodia and Thailand.

การเดินทาง จากนครซัวเถา ไป เมืองแต้จิ๋วหรือเฉาโจว นั่งรถจากซัวเถาขึ้นเหนือราว 1 ชั่วโมง จะถึงเมืองเฉาโจว

นอกเมืองซัวเถา มองไปตามสองข้างทางถนนเต็มไปด้วยเนินสุสาน สลับทุ่งนากว้างใหญ่เขียวขจี ยังเต็มไปด้วยชุมชนบ้านแบบเก่าโบราณ


สถานที่สำคัญ

เฉาโจวมีแหล่งโบราณสถานอันมีชื่อเสียง เช่น
มีสะพานจ้าวโจว สะพานลั่วหยาง สะพานลูโกว และสะพานกว่างจี้ ซึ่งอันหลังสุดเป็น 1 ใน 4 สะพานโบราณรุ่นเก่าแก่ที่สุดของประเทศจีน
สะพานวัวคู่ สัญลักษณ์ของเมืองแต้จิ๋ว ที่มีตำนานว่าสร้างขึ้นโดยแปดเซียน

เฉาโจวเป็นเมืองเก่าโบราณ มีสามขุนเขาใหญ่ได้แก่ จินซัน หูลูซัน ปี่เจี้ยซัน เคียงคู่ด้วยลำน้ำหานเจียง

เจ้าแม่ทับทิม "ไฮตังม่า" สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองชาวจีนแต้จิ๋วที่อยู่ติดทะเล และมีวิถีชีวิตอยู่กับทะเล
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ณ วัดไคหยวน วัดที่ใหญ่ที่สุดของเมืองแต้จิ๋ว สร้างเพื่อรำลึกถึงเสนาบดีหันเหวินกงผู้ซื่อตรง และเต็มไปด้วยความสามารถในสมัยราชวงศ์ถัง แต่ถูกพวกกังฉินยุยงฮ่องเต้และโดนเนรเทศลงมาเมืองแต้จิ๋ว โดยหันเหวินกงเป็นผู้ทำให้เมืองแต้จิ๋วมีความเจริญสูงสุด

การเดินทางไปซัวเถา

มีเที่ยวบินตรงกรุงเทพฯ-ซัวเถา ของไชน่า เซาท์เทิร์น แอร์ไลน์ มีเที่ยวบินวันจันทร์ พุธ ศุกร์ อาทิตย์

อาจบินไปที่กว่างโจวหรือกวางเจา จากนั้นนั่งรถเข้าซัวเถา 4 ชั่วโมง โดยมีสายการบิน การบินไทย, โอเรียน ไทย, เซาท์เทิร์น ไชน่า แอร์ไลน์ และสิงคโปร์ แอร์ไลน์